ประวัติความเป็นมาของเบเกอรี่

              




                เบเกอรี่เริ่มมีขึ้นในยุคหิน โดยชาวสวิสได้เป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดให้แตก ผสมน้ำ ทำให้สุกบนแผ่นหินเผาไฟ ได้อาหารเป็นแผ่น ข้างในเหนียวเหนอะหนะ นับเป็นขนมปังชนิดแรกของโลกเลยค่ะ และต่อมา ชาวอียิปต์ได้พัฒนาจากขนมปังที่เป็นก้อนแน่น ให้มาเป็นก้นโปร่งฟูขึ้น ซึ่งมาจากที่ชาวอียิปต์หมักก้อนแป้งแล้วลืมทิ้งไว้ และได้นำมาผสมกับแป้งที่ทำใหม่เพื่อให้ขนมขึ้นฟู และชาวอียิปต์ยังได้นำดินเหนียวมาทำเป็นภาชนะเพื่อใช้ในการอบขนมแทนแผ่นหิน ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นเตาอบชนิดแรกของโลก และเตาอบชนิดนี้ แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นล่างไว้ก่อไฟ ชั้นบนสำหรับอบขนมผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เชื่อกันว่าเริ่มมีกาผลิตมาตั้งแต่ ๓,๐๐๐ ปีก่อน โดยต้นกำเนิดมาจากพวกทาสในยุคอียิปต์โบราณ ที่ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายขนมปัง คือเนื้อแป้งเบา ฟู และมีรสชาติอร่อย หลังจากนำไปทำให้สุก ซึ่งต่อมาชาวกรีกได้มีการพัฒนาการผลิตขนมปังให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยการประดิษฐ์เครื่องโม่แป้งจากข้าวสาลีทำให้สามาผลิตแป้งสำหรับทำขนมปังได้ อีกทั้งยังได้คิดค้นดัดแปลงเจาอบเป็นแบบใช้อิฐก่อชาวกรีกนั้นนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตขนมปังขาวแล้ว ยังเป็นผู้ผลิตขนมเค้กและเบเกอรี่หลากหลายชนิด โดยอาศัยการผสม นม น้ำมัน เหล้าไวน์ เนยแข็งและน้ำผึง เข้าไปในส่วนผสม




                   หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีวิวัฒนธรรมการบริโภค จึงมีการเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภคให้คล้อยตามชาวตะวันตก อีกทั้งการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศอเมริกาหรือประเทศคานาดาที่ได้เข้ามาอาศัย และทำธุรกิจจึงทำให้เกิดการผลิตเบเกอรี่ชนิดต่างๆ เช่น ขนมปัง เค้ก คุกกี้ พาย เพื่อบริการให้ชาวต่างชาติเหล่านี้ และนำออกจำหน่าย เป็นผลให้ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากยิ่งขึ้นโดยธุรกิจประเภทนี้ได้เริ่มเติบโตขึ้นเมื่อประมาณ ๓๐๓๕ ปีที่ผ่านมาเช่นร้านลิตเติ้ลโฮม





 ซึ่งเจ้าของร้านสมัยสงครามเวียดนามประเทศไทยเป็นสถานที่ที่ทหารอเมริกาได้ใช้เป็นฐานทัพ จึงทำให้บริษัทยูไนเต็ดลาวมิลล์เห็นช่างทางก่อตั้งโรงงานผลิตแป้งสาลีในประเทศไทย เพื่อใช้ทำผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์เบเกอรี่และจัดการฝึกอบรบการใช้แป้งสาลีให้ลูกค้าในธุรกิจเบเกอรี่เพื่อให้สามารถนำแป้งสาลีไปใช้ผลิตเบเกอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แป้งสาลีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อสงครามเวียดนามยุติลง ธุรกิจเบเกอรี่ก็ยังคงได้รับความนิยม และมีการขยายให้ใหญ่โตขึ้นขนวิธีการผลิตเปลี่ยนไปจากเดิม จากร้านเล็กๆ ที่ผลิตด้วยมือมาเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีการปรับปรุง ในเรื่องเนื้อสัมผัสความเบาฟู รสหวาน ความมันและกลิ่นหอม ตามความต้องการของผู้รับประทาน ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในชีวิตประจำวันของคนไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น